ร่วมมือกับแพทย์ของคุณวางแผนในการลดน้ำหนัก
ภาวะโรคอ้วนเป็นโรคที่ซับซ้อน แต่การรักษาอาจจะไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด บุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และเครื่องมือในการสร้างแผนการรักษาที่เหมาะสําหรับคุณ
หลังรับประทานอาหาร เราไม่ได้เป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าจะหิวหรืออิ่มใช่ไหม เราเพียงแค่รู้สึกได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นเมื่อได้เวลา แล้วจึงทำตามความรู้สึก
และเราไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไมเราจึงเลือกที่จะรับประทานช็อกโกแลตเป็นอาหารว่างยามบ่ายมากกว่าแอปเปิ้ลเขียว ในขณะที่ยามเช้าเราตั้งใจแน่วแน่ที่จะกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
เมื่อเราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทานและการเลือกอาหารเองได้ มีหลายครั้งที่การรับประทานอาหารขัดกับความตั้งใจของเรา แผนการรับประทานอาหาร อะไรคือสิ่งที่ควบคุมความรู้สึกนี้และมีการทํางานอย่างไร
“ความต้องการที่จะสร้างพลังงานคือตัวกระตุ้นของร่างกาย เพราะเราทุกคนต้องการอาหารเพื่ออยู่รอด จึงไม่น่าแปลกใจที่ร่างกายของเรามีระบบควบคุมการบริโภคอาหารที่ซับซ้อนซึ่งขับเคลื่อนโดยฮอร์โมน" Joseph Proietto ศาสตราจารย์สาขาอายุรศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าว
ดูเหมือนว่าฮอร์โมนทําหน้าที่เหมือนตัวส่งสัญญาณเคมีระหว่างร่างกายและสมองที่ประสานพฤติกรรมการบริโภคและการเลือกอาหารของเรา
ฮอร์โมนเหล่านี้ไหลเวียนอยู่ในเลือดและมาจากเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการเก็บรักษาพลังงาน รวมถึงลําไส้ (ที่รับและย่อยอาหาร) เนื้อเยื่อไขมัน (ซึ่งเก็บพลังงานในรูปไขมัน) และตับอ่อน (ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บพลังงาน เช่น อินซูลิน)
ฮอร์โมนบางชนิดมีหน้าที่กระตุ้นความหิว (เราเรียกฮอร์โมนเหล่านี้ว่า “ฮอร์โมนกระตุ้นความหิว”) ในขณะที่ฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ทําให้เรารู้สึกอิ่ม (เราจะเรียกว่า “ฮอร์โมนกระตุ้นความอิ่ม”)
ด้านล่างนี้เป็นภาพฮอร์โมนแบบง่าย ๆ ที่อธิบายการควบคุมความอยากอาหาร ในนั้นคุณจะเห็นได้ว่าฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ถูกปล่อยออกมาจากร่างกายได้อย่างไร และส่งผลต่อความอยากอาหารของคุณอย่างไร
เมื่ออิ่มแล้ว กระเพาะอาหารจะลดความต้องการที่จะรับประทานอาหารของเราลงโดยการผลิตฮอร์โมนกระตุ้นความหิวให้น้อยลง และส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อทําให้เราหยุดรับประทานอาหาร ในขณะเดียวกัน ระดับของฮอร์โมนกระตุ้นความอิ่มจะเพิ่มขึ้นหลังรับประทานอาหารและเพิ่มสูงสุดในระหว่าง 30 ถึง 60 นาทีหลังจากนั้น
การทํางานสอดประสานกันอย่างต่อเนื่องของสัญญาณจากฮอร์โมนกระตุ้นความหิวและกระตุ้นความอิ่มนี้เองที่ช่วยสมองควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเรา ฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่งสามารถควบคุมการเลือกอาหารของเราและกระตุ้นให้เรารับประทานอาหารแม้ร่างกายจะไม่หิวก็ตาม
ดูเหมือนว่าระดับฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลงเช่นกันเมื่อเราลดนํ้าหนัก มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการลดนํ้าหนักโดยควบคุมอาหารนั้น มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งทำให้น้ำหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิม
หลังจากนํ้าหนักตัวลดลง ระดับฮอร์โมนกระตุ้นความอิ่มจะลดลงและระดับฮอร์โมนกระตุ้นความหิวจะเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นําไปสู่ความหิวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลดความรู้สึกอิ่มและเผาผลาญแคลอรีได้น้อยลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจอยู่กับเราไปอีกนานถึงสามปี และอาจเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ว่าทําไมคน 8 ใน 10 คนน้ำหนักตัวดีดกลับมาเท่าเดิมในระยะยาว
ผลการค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าการกดความหิวหลังจากนํ้าหนักตัวลด อาจช่วยให้ผู้คนรักษาระดับนํ้าหนักใหม่ได้
สิ่งสําคัญคือต้องจําไว้ว่าเราไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนของเราได้ เมื่อเรารู้สึกหิว เป็นเรื่องยากมากที่จะไม่รับประทานอาหาร แม้ว่าเราจะไม่อยากรับประทานมากขนาดไหนก็ตาม แต่การเรียนรู้กลไกการทำงานของฮอร์โมนของเราช่วยให้เราเข้าใจประเภทสิ่งแทรกแซงและและกลยุทธ์ที่อาจจําเป็นในการจัดการนํ้าหนักของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The site you are entering is not the property of, nor managed by, Novo Nordisk. Novo Nordisk assumes no responsibility for the content of sites not managed by Novo Nordisk. Furthermore, Novo Nordisk is not responsible for, nor does it have control over, the privacy policies of these sites.